วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

6 สมุนไพรรักษาเบาหวาน



6 สมุนไพรรักษาเบาหวาน

สมุนไพรนับว่าเป็นทางเลือกเสริมที่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักรับประทานสมุนไพรรักษาเบาหวาน ควบคู่กับยาแพทย์ปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิดที่มีผลดีต่อโรคเบาหวาน และเป็นพืชที่หาได้ง่าย เรียกว่ารับประทานกันอยู่แล้วก็ว่าได้ มีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตามสมุนไพรทุกชนิดหากได้รับในปริมาณที่เหมาะสมก็จะส่งผลดีต่อผู้บริโภคแน่นอนคะ

สมุนไพรรักษาเบาหวาน

สมุนไพรรักษาเบาหวาน 6 ชนิด ที่มีการวิจัยสนับสนุนว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

เรามาลองดูว่าพืชสมุนไพรชนิดไหนบ้างที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. มะระขี้นก มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของสารอินซูลิน ยับยั้งการสร้างกลูโคสและเพิ่มการใช่กลูโคสในตับ จึงช่วยลดปริมาณน้ำตาลได้ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาล คือ อินซูลินคาแรนทิน (Charantin) และไวซีน (Vicine) อย่างไรก็ตามควรรับประทานมะระขี้นกอย่างพอดี เพราะความขมของมะระอาจทำให้ตับทำงานหนักเกินไป ที่ประเทศญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ศึกษาพบว่ามะระขี้นกสามารถลดน้ำตาลในเลือดและชะลอการเกิดต้อกระจกที่เกิดจากโรคเบาหวานได้ จากการศึกษาทางพิษวิทยาพบว่าเม็ดของมะระขี้นกมีพิษ รวมทั้งผลที่สุกจะมีสารซาโปนิน(Saponin) ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียน ท้องร่วงได้

มะระขี้นกนับว่าเป็นสมุนไพรสำคัญตัวแรกๆ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีผลการศึกษาในคนจำนวนมาก และการนำไปใช้ก็มีไม่ยุ่งยาก เราสามารถนำผลของมะระขี้นกมาคั้นสดๆ ดื่ม 3 เวลา ก่อนอาหาร , นำผลไปตากแห้งทำเป็นชามะระขี้นกหรือนำมาบดใส่ในแคปซูลและยาลูกกลอนก็ได้

2. ช้าพลูหรือชะพลู มีสารออกฤทธิ์แอนตี้อ๊อกซิเด็นท์สูงมาก มีแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินซี สูงมาก และไม่ลดน้ำตาลในคนปกติ นำใบช้าพลูทั้งห้า (ทั้งต้นตลอดถึงราก) มาต้มดื่ม

3. ผักเชียงดาหรือผักจินดา มีฤทธิ์ช่วยป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล ฟื้นฟูเบต้าเซลล์ในตับอ่อน เพิ่มปริมาณอินซูลิน ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนักเพราะว่าผักเชียงดาช่วยให้นำน้ำตาลไปเผาเผลาญมากกว่านำไปสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้สามารถใช้ได้ผลในทั้งผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (ชนิดที่1)และชนิดไม่พึ่งอินซูลิน(ชนิดที่2) มีการวิจัยพบว่าสารสกัดจากผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายารักษาเบาหวานที่ชื่อว่า ไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) และยังพบว่าผู้ป่วยที่ทานผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบันและบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้ผักเชียงดาเพียงอย่างเดียวในการคบคุมระดับน้ำตาล เราสามารถนำราก เถา หรือใบ นำมาตากแห้งชงดื่มเป็นน้ำชา หรือทานเป็นผักในมื้ออาหารก็ได้ อย่างในสหรัฐอเมริการมีผงแห้งผักเชียงดาขายในร้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยกำหนดค่ากรดไกนิมิก (Gynemic Acid) ต้องไม่น้อยกว่า 25 %

4. ตำลึง มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด ตำลึงเป็นพืชที่ปลูกง่ายและหาง่าย แถมราคาก็ถูก เราสามารถนำเถามาต้มดื่ม หรือ น้ำคั้นจากผลดิบลูกตำลึง

5. กะเพรา มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไขมัน โดยการนำใบกะเพรามาตากแห้งชงน้ำดื่ม

6. ฟักทอง น้ำตาลโพลีแซ็กคาไรด์ที่ตรึงอยู่กับโปรตีนภายในเนื้อฟักทองมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้

ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้หลั่งสารอินซูลินได้ดีขึ้น เช่น ว่านหางจระเข้ อบเชยจีน อินทนิลน้ำ หว้า เตยหอม ใบหม่อน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเราควรศึกษาหาข้อมูลสมุนไพรที่จะใช้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความเชื่อหรืองมงาย เช่น สมุนไพรชนิดนั้นๆควรมีผลการวิจัยรองรับว่ามีฤทธิ์ดังกล่าวอ้างจริง และมีการนำมาใช้จริงในวงการสุขภาพ จะทำให้เราได้รับสิ่งดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริงคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

5 เฮิร์บ แฮร์ เซรั่ม 5 HERB HAIR SERUMผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม(ไม่ต้องล้างออก)

                                              5 เฮิร์บ แฮร์ เซรั่ม  5 HERB HAIR  SERUM ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม(ไม่ต้องล้างออก) ผมห...