วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไขมันพอกตับคืออะไร????


ไขมันพอกตับใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง????
 ไขมันพอกตับ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อไปตรวจสุขภาพประจำปีแล้วพบว่ามีไขมันพอกตับหรือไขมันเกาะตับ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีรูปร่างอ้วน เป็นเบาหวานและมีไขมันในเลือดสูง

      ในคนปกติ ตับจะมีบทบาทสูงมากในการรักษาชีวิตให้เป็นปกติ เพราะจะทำงานเสมือนโรงงานบำบัดน้ำเสีย โรงงานกำจัดขยะและโรงงานแปรรูปสารอาหาร โดยอาหารที่ถูกย่อยและดูดซึมจากทางเดินอาหารจะต้องผ่านตับ เพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมก่อนนำไปเลี้ยงร่างกาย

      ของเสียและสารพิษบางอย่างที่อยู่ในเลือดเมื่อไหลเวียนผ่านตับก็จะถูกขจัดออกไป สารอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำตาลจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นแป้ง (ไกลโคเจน) สะสมไว้ที่ตับ เพื่อเป็นสารอาหารสำรองไว้ใช้ขณะที่ร่างกายไม่ได้กินอาหาร ซึ่งจะมีเพียงพอที่จะใช้เป็นพลังงานได้นาน 6-8 ชั่วโมง แต่ถ้าต้องอดอาหารนานกว่านี้ ร่างกายจะเคลื่อนย้ายไขมันมาจากเนื้อเยื่อไขมันมายังตับ เพื่อแปรรูปเป็นสารพลังงานต่อไป

      ในคนที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ที่ขาดอาหารหรืออดอาหาร จะมีการเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น ขณะเดียวกันตับก็ไม่สามารถแปรรูปไขมันที่ถูกนำเข้ามาเป็นจำนวนมากได้ทัน จึงเกิดการสะสมขึ้นในตับ เกิดภาวะไขมันพอกตับได้

      ยาบางอย่าง เช่น สารสเตียรอยด์และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ก็ทำให้เกิดไขมันพอกตับได้ การมีไขมันพอกตับอาจทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งตับ แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะส่วนใหญ่ของผู้ที่มีไขมันพอกตับ ไม่มีการอักเสบเรื้อรังของตับ

สรุปภาวะเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับ ได้แก่

           การดื่มสุรา
           กลุ่มคนที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง
           ผู้ที่เป็นตับอักเสบจากไวรัสบี ซี หรือจากภูมิแพ้
           ได้ยาบางอย่าง
           การขาดอาหาร
                                                                                                                     

การรักษา 
          ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ได้รับการพิสูจน์แน่ชัดว่าจะรักษาภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งที่การปฏิบัติตัว คือ   
           การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป
           ออกกำลังกาย
           หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา                                                                                                                                        ควบคุมเบาหวานและภาวะไขมันในเลือดสูง ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด

     
 ส่วนการใช้ยาลดไขมันกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เรียกว่ากลุ่มสแตติน ซึ่งจะออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างไขมันคอเลสเตอรอล ยากลุ่มนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์เชิงขู่ให้คนเรารู้สึกกลัวการมีไขมันในเลือดสูง (ซึ่งบางครั้งสูงแค่เพียงเล็กน้อยก็กังวลจนเกินเหตุ )        ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่จะยืนยันว่า ยากลุ่มนี้จะช่วยลดไขมันที่พอกตับ แต่ยากลุ่มนี้จะช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล ขณะเดียวกันฤทธิ์ข้างเคียงก็มี เช่น ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจเป็นพิษต่อตับ ไต สมอง และเส้นประสาท ซึ่งแทบจะไม่มีใครกล่าวถึง จึงทำให้อดคิดไม่ได้ว่า การใช้ยาทุกวันนี้อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการหรือการตลาดกันแน่

        แม้แต่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ H1N1 ซึ่งเคยประโคมข่าวความน่ากลัวกันใหญ่โต ปัจจุบันในประเทศไทยเองเชื่อว่าคนที่อยู่ในชุมชนหลายคนคงได้รับเชื้อกันไปมากมาย เพียงแต่ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทาน ทำให้สบายดีหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่จากผลของความกลัวที่เกิดขึ้นก็สามารถทำให้บริษัทยาต่าง ๆ สามารถทำกำไรจากการขายยาและวัคซีนได้เป็นกอบเป็นกำ อย่างนี้ต้องเรียกเป็น "นโยบายการตลาดแบบขู่ให้กลัว" เพื่อกระตุ้นยอดขาย

        ยาก็คือสารเคมี มีทั้งข้อดีข้อเสีย การให้ข้อมูลผู้ใช้ยาทั้ง 2 ด้าน และรณรงค์ให้ใช้ยาเท่าที่จำเป็นจริง ๆ โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ ด้านบนพื้นฐานของวิชาการและคุณธรรมเป็นสิ่งที่ควรต้องตระหนักมากกว่าการมุ่งใช้การตลาดนำ รวมถึงทั้งผู้ป่วยและแพทย์เองก็ต้องระวังการเป็นเหยื่อของการตลาดทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม

โรคไขมันพอกตับ มีข้อมูลสำรวจทางการแพทย์พบว่า คนอ้วนผู้ป่วยเป็นเบาหวาน หรือดื่มสุราเป็นประจำ จะมีภาวะไขมันพอกตับสูงถึง 50% และ 57.7% ตามลำดับ ส่วนผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปมีประมาณ 25% และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ ไขมันพอกตับส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงมักไม่รู้ตัวจึงไม่ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ    ไขมันพอกตับใช่ว่าจะมีไขมันอยู่บนตับ หากแต่หมายถึง การสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปรกติ ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกิน 5% ของตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำงนผิดปกติ กลายเป็นตับอักเสบ และอาจพัฒนาเป็นตับแข็งในที่สุด
    ไขมันพอกตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ดื่มสุราเป็นประจำ โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ตับอักเสบจากไวรัส การขาดสารอาหาร เกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา
การตั้งครรภ์ เป็นต้น

นี่เป็นตัวอย่างของโรคไม่กี่ชนิด อันเกิดจากอาหารมันๆ แต่ส่งผลร้ายให้แก่ร่างกาย ทั้งยังทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งยังส่งผลกระทบต่อประเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้ขึ้นทุกปี รวมกันแล้วกว่าแสนล้านบาทต่อปี

แล้ว “ไขมัน” มาจากไหน?
“ไขมัน” เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงที่สุด คือ 9 กิโลแคลอรี ต่อ 1 กรัม ไขมันช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อีและเค ให้ความอบอุ่นและควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยให้อาหารนุ่ม มีกลิ่นรสดีและน่ากิน การขาดไขมันหรือรับไม่เพียงพอจะทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอไปด้วย แต่ถ้ากินอาหารมันๆ มากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้

    ไขมัน ได้จากสัตว์และพืช ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันพืชที่ทำจากถั่วเหลือง เนื้อปาล์ม เมล็ดฝ้ายมะพร้าว รำข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเนย ซึ่งทำมาจากไขมันในนม เนยเทียม หรือมาการีน ทำมาจากไขมันพืช ยังมีไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ รวมถึงวิธีการปรุงประกอบด้วยไขมัน น้ำมัน เนย เช่น อาหารทอด ผัด ขนมเค้ก คุกกี้ พิซซ่า ไอศกรีม แกงกะทิ เป็นต้น
    จากาการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการในประเทศไทยเมื่อปี 2546-2547 พบว่า “คนไทยกินอาหารทอด และผัดทุกวันร้อยละ 19.6” เช่น ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ปลาทอด ไข่เจียว ไข่ดาว หรือจำพวกขนมทอดทั้งหลาย เช่น กล้วยแขก เผือกทอด ปลาท่องโก๋ เป็นต้น
    ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มีไขมันที่เพิ่มมากขึ้นจากน้ำมันที่ใช้ทอด ทำให้อาหารทอดทั้งหลาย มีพลังงานมากกว่าอาหารที่ปรุงด้วยวิธีอื่น โดยเฉพาะอาหารจานเดียวมีพลังงานต่อกิโลแคลอรีค่อนข้างสูง เช่น กระเพาะปลามี 239 กิโลแคลอรี โจ๊กหมู 253 กิโลแคลอรี เส้นหมี่ลูกชิ้นเนื้อ 258 กิโลแคลอรี ข้าวต้มกุ้ง 305 กิโลแคลอรี ข้าวขาหมู 438 กิโลแคลอรี หอยแมลงภู่ทอกใส่ไข่ 500 กิโลแคลอรี ข้าวคะน้าหมูกรอบ 500 กิโลแคลอรี ก๋วยเตี๋ยว ผัดซีอิ๋วใส่ไข่ 679 กิโลแคลอรี (ข้อมูลจาก หนังสือปฏิบัติฝ่ายวิกฤติพิชิตพุง โดยเครือข่ายคนไทยไร้พุง 1 ธันวาคม 2549)
    แม้ว่าไขมันจะมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ แต่ถ้าหากเรากินอาหารมันจัดเป็นประจำ จะเกิดไขมันสะสมจนเป็นโรคอ้วน เป็นสาเหตุให้เสียงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็ง โรคอัมพาต ได้
จริงๆ แล้วคนเราควรบริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทื่ได้รับต่อวัน หรือมื้อละประมาณ 3.5 – 4 ช้อนชา และควรมีสัดส่วนของไขมันพืช : ไขมันสัตว์ เท่ากับ 3 : 1 หรือ 1 : 1 เป็นอย่างน้อย
    การปรับพฤติกรรมในการกินเพื่อลดอาหารมันจัดนั้น ควรกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีตามหลักโภชนาการ เลือกกินอาหารที่ประกอบด้วนวิธีนึ่ง ย่าง ต้ม อบ แทนของทอด และหมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที เราควรเอาใจใส่กับการกินสักนิดเพื่อสุขภาพของตนเองได้มีอายุยืนยาวขึ้น


สนใจเข้าคอร์สล้างพิษตับ บ้านชีวาธรรม คอร์สเดือนกันยายนวันที่ 26-28 รับจำนวน 30 ท่าน

ติดต่อ ชีวาพร 095-616-9008

โพสต์แนะนำ

5 เฮิร์บ แฮร์ เซรั่ม 5 HERB HAIR SERUMผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม(ไม่ต้องล้างออก)

                                              5 เฮิร์บ แฮร์ เซรั่ม  5 HERB HAIR  SERUM ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม(ไม่ต้องล้างออก) ผมห...