เคยตั้งคำถามมั้ย? ว่าทำไมเราจึงต้องการ “การนอนหลับ” ก็เพื่อให้ร่างกายคืนสมรรถภาพ โดยเฉพาะการทำงานของสมองให้เป็นไปได้อย่างปกติ ซึ่งการนอนหลับโดยปกติจะประกอบขึ้นด้วยสองระยะที่สลับกันไปมาทั้งคืน คือ REM sleep การกลอกตาทั้งสองข้างไปมาอย่างรวดเร็วในขณะหลับ ส่วน non-rapid eye คือการนอนหลับในระยะที่ลูกตาสองข้างไม่กรอกไปมา
โดยการนอนส่วนนี้ จะแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ การนอนที่ผิดปกติ หลับไม่สนิท นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ทำให้ตื่นมาไม่สดชื่น ซึ่งเป็นลักษณะของการอดนอน สำหรับภัยร้ายภายใต้การนอนที่พบบ่อยมีดังนี้
ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia) คือโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ต่อเนื่อง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการง่วงนอนแต่ไม่หลับ หรือนอนหลับสั้นๆ ก็จะตื่นมากลางดึกและไม่สามารถข่มตาให้นอนหลับอีก หรือบางครั้งไม่สามารถนอนหลับได้เลยตลอดทั้งคืน ซึ่งการจะหาสาเหตุนั้นมักมาจากการซักประวัติ ซึ่งต้องครอบ คลุมทุกระบบ โดยการวินิจฉัยภาวะการนอน “Polysomnography” เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ทราบสาเหตุของโรคได้
ภาวะนอนกรน ไม่ได้สร้างปัญหาแค่เสียงรบกวนอันน่ารำคาญเท่านั้น แต่อันตรายจากการนอนกรน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาจทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจบางขณะ สร้างปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันมากมาย เช่น ง่วงในเวลากลางวัน สมาธิสั้น อ่อนเพลียเรื้อรัง หงุดหงิดอารมณ์เสีย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และผู้ที่นอนกรนยังมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นหลอดเลือดสมอง แตก สมองเสื่อม โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ และส่งผลต่อความสามารถในการจดจำและการใช้ความคิดอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่กรนเสียงดังๆ ยังรบกวนคู่นอนทำให้นอนไม่หลับได้
การนอนกรนคงจะไม่เป็นอันตรายใดๆ หากไม่มีภาวะการหายใจที่ผิดปกติและหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ซึ่งผู้ป่วยที่มีทางเดินหายใจแคบมากในเวลาหลับ เมื่อยังหลับไม่สนิทจะมีเสียงกรนที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีเสียงกรนที่ติดสะดุดไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีช่วงกรนเสียงดังค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะกรนดังขึ้นเรื่อยๆ โดยมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจติดขัดเหมือนคนสำลักน้ำ และจะทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง เป็นผลให้ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองระหว่างนั้นอาจทำให้เซลล์สมองเสื่อมได้
ในกรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยควรใส่เครื่อง Nasal CPAP (Nasal Continuous Positive Airway Pressure) เครื่องนี้จะปล่อยแรงดันบวก และจะทำให้ช่องทางเดินหายใจที่แคบกว้างขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วย หายใจได้สะดวกและหลับสบายขึ้น ในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด และวิธีการผ่าตัด แพทย์อาจรักษาโดยวิธี Somnoplasty คือ การจี้กระตุ้นให้เพดานอ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหดตัวลง หรืออาจตัดสินใจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่ยืดยานออก ซึ่งการจะพิจารณาเลือกรักษาโดยวิธีใดนั้น ก็ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละกรณีไป ทั้งนี้
สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อการนอนหลับที่ดี
1.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน 2 ชั่วโมงร
2.อย่าเข้านอนเวลาหิว
3.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ผสมอยู่ ก่อนนอน 3 ชั่วโมง
4.ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เรานอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ก่อนนอนควรผ่อนคลาย
5.หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และ
6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหนักก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง