ไขมันเกาะตับคืออะไร
ไขมันเกาะตับ คือสภาวะที่เกิดการสะสมของไขมันภายในเซลล์ตับ
เนื่องจากตับขับไขมันส่วนเกินออกไปได้ไม่หมด
โดยส่วนใหญ่จะอยู่รูปไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ทำให้เกิดการอักเสบของตับ
การทำงานของตับลดลง
ถ้าดื่มสุราและติดเชื้อไวรัสตับอักเสบด้วยอาจลุกลามกลายเป็นโรคตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับได้
ภาวะไขมันเกาะตับพบได้ประมาณ 10%-25 % อาจแตกต่างบ้างในแต่ละประเทศ พบได้บ่อยในคนที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดัังต่อไปนี้ น้ำหนักเกิน, อ้วน ,เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิต
สาเหตุของไขมันเกาะตับไม่เป็นที่ทราบแนแ่ชัด ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ บางรายอาจมีอาการจุกเสียดแน่นบริเวณชายโครงขวาจนเกิดภาวะตับแข็ง, อาจมีอาการอ่อนเพลีย, ท้องโต เป็นต้น
หน้าที่ของตับจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17
ตับมีหน้าที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่การสร้างน้ำดี ซึ่งออกมาในลำไส้ ช่วยให้อาหารประเภทไขมันถูกย่อยและดูดซึมง่ายขึ้น เก็บสำรองอาหาร โดยเก็บเอากลูโคส (GLUCOSE)ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในสภาพของกลัยโคเจน (GLYCOGEN) และจะเปลี่ยน กลัยโคเจนกลับออกมาเป็นกลูโคสในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้ได้ ทันที สะสมวิตามินเอ ดี และวิตามินบีสิบสอง นอกจากนี้ยังกำจัดสารพิษที่ลำไส้ดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับก็จะทำลาย สารพิษบางชนิดตับทำลายไม่ได้ตรงกันข้ามจะไปทำลายเซลล์ตับ เช่น แอลกอฮอล์ (ALCOHOL) คาร์บอนเตตราคลอไรด์(CARBON TETRACHLORIDE) และคลอโรฟอร์ม (CHLOROFORM) เป็นต้น
ตับจะทำหน้าที่สร้างวิตามิน เอ จากสารแคโรตีน (สารสีส้มที่มีอยู่ในแครอต และมะละกอ) ธาตุเหล็กและทองแดงจะถูกเก็บสะสมอยู่ที่ตับ เช่นเดียวกับวิตามิน เอ ดี และบีสิบสอง สร้างองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ไฟบริโนเจน (FIBRINOGEN) และโปรธรอมบิน(PROTHROMBIN) เป็นต้น และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด อันได้แก่ เฮปาริน(HEPARIN) ทำหน้าที่ในการกินและทำลายเชื้อโรคโดยมีเซลล์แมกโครฟาจ (MACROPHAGE) ที่อยู่ในตับ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่าคุฟเฟอร์เซลล์ (KUPFFER'S CELL) และ หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นแหล่งพลังงานสร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย
หน้าที่ของตับตามทรรศนะแพทย์แผนจีน (ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิง)
- ตับเก็บเลือด และควบคุมปริมาณเลือด
- ตับทำหน้าที่ระบายและปรับการไหลเวียนและพลัง
- ตับควบคุมอารมณ์และจิตใจ
- ตับขับเคลื่อนการไหลเวียนเลือด และพลัง และการลำเลียงน้ำในร่างกาย
- ตับเปิดทวารที่ตา
หน้าที่ ของตับที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตับอักเสบ คือ ภาวะการอุดกั้นของตับ ทำให้การไหลเวียนเลือดและพลังติดขัด ทำให้มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และจิตใจ รวมถึงการทำงานของระบบม้ามและกระเพาะอาหาร (ไม้ข่มดิน-ตับแกร่งข่มม้าม) หรือในทางกลับกัน การหงุดหงิด จิตใจหดหู่ เครียด โมโห จะมีผลต่อการทำงานของตับโดยตรง เกิดพลังและเลือดอุดกั้น (สารพิษในร่างกายมาก ตับทำหน้าที่ขับพิษได้น้อยลง ตับทำหน้าที่มากขึ้น) ระบบการย่อยอาหารที่สะสมความร้อนชื้นมากจะมีผลต่อความร้อนชื้นของระบบ ตับ-ถุงน้ำดีได้ การที่เกิดความร้อนชื้น หรือพลังอุดกั้นจากอารมณ์นานๆ จะทำให้เกิดก้อนหรือการอักเสบภายในตับได้ เพราะเกิดความร้อนและการไหลเวียนติดขัดเกิดเลือดคั่งค้าง
ภาวะไขมันเกาะตับพบได้ประมาณ 10%-25 % อาจแตกต่างบ้างในแต่ละประเทศ พบได้บ่อยในคนที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดัังต่อไปนี้ น้ำหนักเกิน, อ้วน ,เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิต
สาเหตุของไขมันเกาะตับไม่เป็นที่ทราบแนแ่ชัด ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ บางรายอาจมีอาการจุกเสียดแน่นบริเวณชายโครงขวาจนเกิดภาวะตับแข็ง, อาจมีอาการอ่อนเพลีย, ท้องโต เป็นต้น
หน้าที่ของตับจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17
ตับมีหน้าที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่การสร้างน้ำดี ซึ่งออกมาในลำไส้ ช่วยให้อาหารประเภทไขมันถูกย่อยและดูดซึมง่ายขึ้น เก็บสำรองอาหาร โดยเก็บเอากลูโคส (GLUCOSE)ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในสภาพของกลัยโคเจน (GLYCOGEN) และจะเปลี่ยน กลัยโคเจนกลับออกมาเป็นกลูโคสในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้ได้ ทันที สะสมวิตามินเอ ดี และวิตามินบีสิบสอง นอกจากนี้ยังกำจัดสารพิษที่ลำไส้ดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับก็จะทำลาย สารพิษบางชนิดตับทำลายไม่ได้ตรงกันข้ามจะไปทำลายเซลล์ตับ เช่น แอลกอฮอล์ (ALCOHOL) คาร์บอนเตตราคลอไรด์(CARBON TETRACHLORIDE) และคลอโรฟอร์ม (CHLOROFORM) เป็นต้น
ตับจะทำหน้าที่สร้างวิตามิน เอ จากสารแคโรตีน (สารสีส้มที่มีอยู่ในแครอต และมะละกอ) ธาตุเหล็กและทองแดงจะถูกเก็บสะสมอยู่ที่ตับ เช่นเดียวกับวิตามิน เอ ดี และบีสิบสอง สร้างองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ไฟบริโนเจน (FIBRINOGEN) และโปรธรอมบิน(PROTHROMBIN) เป็นต้น และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด อันได้แก่ เฮปาริน(HEPARIN) ทำหน้าที่ในการกินและทำลายเชื้อโรคโดยมีเซลล์แมกโครฟาจ (MACROPHAGE) ที่อยู่ในตับ ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่าคุฟเฟอร์เซลล์ (KUPFFER'S CELL) และ หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นแหล่งพลังงานสร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย
หน้าที่ของตับตามทรรศนะแพทย์แผนจีน (ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิง)
- ตับเก็บเลือด และควบคุมปริมาณเลือด
- ตับทำหน้าที่ระบายและปรับการไหลเวียนและพลัง
- ตับควบคุมอารมณ์และจิตใจ
- ตับขับเคลื่อนการไหลเวียนเลือด และพลัง และการลำเลียงน้ำในร่างกาย
- ตับเปิดทวารที่ตา
หน้าที่ ของตับที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตับอักเสบ คือ ภาวะการอุดกั้นของตับ ทำให้การไหลเวียนเลือดและพลังติดขัด ทำให้มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และจิตใจ รวมถึงการทำงานของระบบม้ามและกระเพาะอาหาร (ไม้ข่มดิน-ตับแกร่งข่มม้าม) หรือในทางกลับกัน การหงุดหงิด จิตใจหดหู่ เครียด โมโห จะมีผลต่อการทำงานของตับโดยตรง เกิดพลังและเลือดอุดกั้น (สารพิษในร่างกายมาก ตับทำหน้าที่ขับพิษได้น้อยลง ตับทำหน้าที่มากขึ้น) ระบบการย่อยอาหารที่สะสมความร้อนชื้นมากจะมีผลต่อความร้อนชื้นของระบบ ตับ-ถุงน้ำดีได้ การที่เกิดความร้อนชื้น หรือพลังอุดกั้นจากอารมณ์นานๆ จะทำให้เกิดก้อนหรือการอักเสบภายในตับได้ เพราะเกิดความร้อนและการไหลเวียนติดขัดเกิดเลือดคั่งค้าง
ดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อรู้ว่าเป็นไขมันเกาะตับ
อันดับแรกหากมีน้ำหนักเกิน
แนะนำลดน้ำหนักเพื่อลดไขมันและการอักเสบในตับ ควรลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี
ไม่ควรอดอาหารและลดน้ำหนักเร็วเกินไปอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉลี่ยควรลดน้ำหนักประมาณ
1-2 กิโลกรัมต่อเดือน ควรควบคุมน้ำหนักโดย
-
ควบคุมอาหารประเภทแป้ง, น้ำตาล, ไขมัน, งดของหวานจัด, ผลไม้หวานจัด, ชีส, ของทอด เป็นต้น
เน้นรับประทานผักผลไม้, ธัญพืช และ เนื้อปลา
- งดเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์- ดื่มน้ำสะอาดประมาณวันละ
- สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่าเครียด และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ป้องกันไขมันเกาะตับได้อย่างไร
- ดูแลสุขภาพ ให้น้ำหนักและไขมันในร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- พยายามอย่ารับประทานอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล ไขมันมากเกินไป
- รับประทาน พืชผัก ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีมากในผักใบเขียวจัด เช่น คะน้า, ตำลึง, ผักบุ้ง, ผักกาดหอม เป็นต้น และมีในผักผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้มและแดง เช่น แครอท, บีทรูท, ฟักทอง, มะม่วง, มะละกอ, แคนตาลูป เป็นต้น
- เห็ดหลินจือ เพื่อบำรุงและฟื้นฟูการทำงานของเซลล์ตับ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
แหล่งอ้างอิง
หน้าที่ของตับจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17
หน้าที่ของตับตามทรรศนะแพทย์แผนจีน จาก http://www.doctor.or.th/node/1964
นอกเหนือจากการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายแล้ว การเลือกรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ร่วมกับการลดความเครียดสามารถช่วยป้องกันการเกิดนิ่วไตซ้ำได้
1. การดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำมะนาวเข้มข้น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระและซิเทรตที่ดีมาก
สามารถยับยั้งการก่อนิ่วและลดการบาดเจ็บของเซลล์บุท่อไตได้ดี
2. ควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยให้มีดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) อยู่ในระดับปกติ โดยให้มีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 23.5 kg/m2
3. ผู้ที่มีภาวะออกซาเลตในปัสสาวะสูง ควรได้รับ แมกนีเซียมและวิตามินบี 6 เสริม เพื่อช่วยลดการสร้างของออกซาเลตในตับ
4.ไม่ควรรับประทานวิตามินซีมากกว่า 500 มก.ต่อ วัน เพราะจะไปเพิ่มออกซาเลตในปัสสาวะและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่ว
5. การคลายเครียดด้วยการบริหารร่างกาย แบบโยคะ การทำสมาธิ หรือใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อลดความเครียด เช่น การสร้างจินตภาพ เพื่อผ่อนคลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงงดสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเครียดของร่างกายที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์บุท่อไต
6. หลังออกกำลังกาย หรือทำงานหนักในที่มีอากาศร้อน สูญเสียเหงื่อมาก จะต้องดื่มน้ำชดเชยให้เพียงพอ หรือควรดื่มน้ำเป็นประจำตลอดทั้งวันประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดการอิ่มตัวของสารก่อนิ่วและการตกผลึกในปัสสาวะ
7. สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติและสงสัยว่ามีนิ่วไตควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และควรนำนิ่วมาวิเคราะห์องค์ประกอบของนิ่ว เพื่อช่วยบอกถึงความผิดปกติเบื้องต้นได้ และเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางป้องกันการกลับเป็นนิ่วซ้ำภายหลังการรักษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น